Mon - Fri 09:00 - 17:00
OUR PROJECTS

ทำเลที่ตั้งโครงการและเส้นทางขนส่ง

โครงการตั้งอยู่ที่ ต.หัวสำโรง อ.แปลงยาว จ.ฉะเชิงเทรา ถนนเส้นพนมสารคาม-สัตหีบ แยก 331-บ้านโปร่งนกเป้า แยก 331 เนินไร่-หนองเรือ (ถนน ฉช .3015 ประมาณ กิโลเมตร 8+400) พื้นที่โครงการทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณ “พื้นที่สีม่วง” ที่พร้อมให้บริการโรงงานอุตสาหกรรม ประกอบกิจการด้วยความสะดวก รวดเร็ว สาธารณูปโภคครบครัน เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สาธารณูปโภคในโครงการ

1. ระบบไฟฟ้า

โครงการได้กำหนดให้มีสถานีไฟฟ้าย่อย เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่

2. ระบบน้ำ

จัดให้มีบ่อน้ำดิบขนาดความจุไม่น้อยกว่า 2,000,000 ลูกบาศก์เมตร และระบบรวบรวมน้ำฝนที่ตกภายในพื้นที่โครงการเพื่อสำรองน้ำไว้ในกิจกรรมต่างๆ ของโครงการ (ไม่มีการใช้น้ำจากแหล่งน้ำสาธารณะ)
ติดตั้งระบบผลิตน้ำประปา 2 ชุด ชุดละ 3,200 ลบ.ม./วัน รวม 6,400 ลบ.ม./วัน และ ติดตั้งถังน้ำประปาที่รองรับความต้องการใช้น้ำในภาพรวมไม่น้อยกว่า 1 วัน (ไม่มีการใช้น้ำจากระบบประปาของชุมชน)

ระบบรักษาความปลอดภัยในโครงการ

ทางโครงการได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่รักษาปลอดภัยเพื่อดูแลความปลอดภัยในพื้นที่ภายในโครงการ จัดทำทะเบียนประวัติคนงานก่อสร้างทุกคน ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง และประสานงานให้การสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้มีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวกบริเวณพื้นที่อ่อนไหวที่อยู่ในเส้นทางขนส่งซึ่งอยู่ใกล้กับโครงการในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน

ศูนย์รับเรื่องร้องเรียน

สามารถแจ้งผ่านศูนย์รับเรื่องร้องเรียนโครงการ
แจ้งผ่านโทรศัพท์ / แจ้งทางวาจาต่อเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์รับเรื่องร้องเรียน
แจ้งหน่วยงานราชการที่รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน
แจ้งคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้มให้รับทราบ
แจ้งผ่านผู้นำชุมชน

มาตรการป้องกันผลกระทบสิ่งแวดล้อม

ทางโครงการได้กำหนดมาตรการป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น (ส่งเสริมการป้องกันมากกว่า การแก้ไขปัญหาด้วยการฟื้นฟู และชดเชยเยียวยา) โดยมีมาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมดังนี้

1. ทรัพยากรน้ำใช้

หมุนเวียนน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดมาใช้ประโยชน์ เช่น จำหน่ายเป็นน้ำเกรดสองให้กับโรงงาน นำไปผสมกับน้ำดิบเพื่อผลิตน้ำประปา และนำไปรดน้ำต้นไม้บริเวณพื้นที่สีเขียว

2. คุณภาพน้ำ

จัดให้มีระบบบำบัดน้ำเสียส่วนกลางภายในพื้นที่โครงการ   5,000 ลบ.ม./วัน และ ควบคุมน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดให้สอดคล้องตามมาตรฐาน
มีเครื่องตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งแบบต่อเนื่อง และตรวจวัดคุณภาพน้ำทิ้งโดยหน่วยงานกลางทุกเดือน
และ มีบ่อพักน้ำทิ้ง 83,000 ลบ.ม. (พักน้ำทิ้งได้ไม่น้อยกว่า 20 วัน)

3.คุณภาพอากาศ

โรงงานใดต้องการระบายมลพิษทางอากาศเกินกว่ากรอบระบายที่กำหนดไว้ ต้องได้รับอนุญาตจากโครงการเป็นลายลักษณ์อักษรก่อน
โรงงานต้องจัดทำรายการและปริมาณการใช้สารเคมี โดยเฉพาะสารเคมีที่อาจส่งผลกระทบด้านกลิ่นรบกวนให้กับโครงการ และมีการปรับปรุงข้อมูลทุกปี
โรงงานต้องตรวจวัดมลพิษทางอากาศที่ระบายจากปล่องอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และนำผลการตรวจวัดมาเปรียบเทียบกับข้อกำหนดของโครงการและมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
ติดตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศแบบต่อเนื่อง จำนวน 1 สถานี

4.เกษตรกรรม

สนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือสถาบันการศึกษาในการส่งเสริมและอบรมให้ความรู้ในด้านต่างๆ แก่เกษตรกรรอบพื้นที่โครงการ
 

5.สาธารณสุขและสุขภาพ

สนับสนุนหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ในส่วนของอุปกรณ์ทางการแพทย์และการส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรทางด้านสาธารณสุข
จัดให้มีโครงการส่งเสริมการตรวจสุขภาพของประชาชนที่อยู่รอบพื้นที่โครงการ เช่น หน่วยแพทย์เคลื่อนที่
 

6.ระดับเสียง

กำหนดจุดตรวจวัดระดับเสียงให้มีความครอบคลุมและเพียงพอ
โรงงานต้องควบคุมระดับเสียงบริเวณริมรั้วหรือขอบเขตพื้นที่โครงการไม่ให้เกิน 70 เดซิเบลเอ
ปลูกต้นไม้รอบเขตพื้นที่ของโครงการไม่น้อยกว่า 10 เมตร เพื่อช่วยลดระดับเสียงดังที่เกิดขึ้น
 

7.การคมนาคม

ติดป้ายและจำกัดความเร็วภายในพื้นที่โครงการให้มีความเร็วไม่เกิน 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
หลีกเลี่ยงแหล่งชุมชนให้มากที่สุด โดยกำหนดให้ถนนทางหลวงชนบท ฉช.3015 เป็นเส้นทางหลักในการขนส่ง

8.การจัดการของเสีย

โรงงานที่จะเข้ามาตั้งภายในโครงการต้องระบุหน่วยงานที่รับกำจัดกากอุตสาหกรรมอันตรายและไม่อันตรายที่เกิดขึ้นในแต่ละโรงงานให้ชัดเจน อีกทั้งหน่วยงานที่รับกำจัดต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานราชการและมีการกำจัดของเสียที่ถูกต้องตามหลักวิชาการรวมถึงต้องกำหนดให้มีมาตรการที่เข้มงวดกับบริษัทรับกำจัดของเสียทั้งในขั้นตอนการขนส่งและการกำจัด
โรงงานต้องติดตามตรวจสอบ (Audit) วิธีการจัดการของเสียของบริษัทรับกำจัดของเสียให้เป็นไปตามหลักวิชาการเป็นประจำทุก 1 ปี และแจ้งผลการดำเนินงานให้โครงการทราบ

9.เศรษฐกิจและสังคม

จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกับชุมชน โดยให้มีผู้แทนจากภาคประชาชน ผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง และผู้แทนจากโครงการ
จัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาชุมชนรอบที่ตั้งโครงการ รวมถึงการสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมและเพื่อเป็นงบประมาณสำรองในการชดเชยเยียวยา
จัดทำทะเบียนประวัติคนงานก่อสร้างทุกคน ที่เข้ามาทำงานในพื้นที่ก่อสร้าง
ส่งเสริมให้โรงงานต่างๆ ที่เข้ามาตั้งในพื้นที่โครงการจดทะเบียนในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ส่งเสริมให้เจ้าของกิจการหรือโรงงานพิจารณารับแรงงานท้องถิ่นหรือในพื้นที่เป็นอันดับแรก
ส่งเสริมให้พนักงานของโครงการและพนักงานของโรงงานที่เป็นประชากรแฝง ย้ายทะเบียนราษฎร์เข้ามาอยู่ในท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของอุตสาหกรรม
จัดทำแผนมวลชนสัมพันธ์และแผนงานการรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรหรือซีเอสอาร์เพื่อคืนประโยชน์ให้กับชุมชน ทั้งนี้ให้ครอบคลุมถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน

 

 

APEX GREEN INDUSTRIAL ESTATE PROJECT

โครงการเอเพ็กซ์ กรีน อินดัสเตรียลเอสเตท มีพื้นที่โครงการรวมประมาณ 2,191.496 ไร่ เป็นเขตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและสำหรับคลังสินค้าโดยเฉพาะ ที่พร้อมให้บริการโรงงานอุตสาหกรรม สามารถประกอบกิจการได้ด้วยความสะดวก และความรวดเร็ว มีสาธารณูปโภคที่ครบครัน และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้างโรงงานอุตสาหกรรม มีการวางแผนการป้องกันและลดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

Recent NEWS & EVENTS